kalanchoe


กุหลาบหิน






อาณาจักร:       Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น:      Magnoliopsida
วงศ์:     Crassulaceae
สกุล:    Kalanchoe
สปีชีส์: K.  blossfeldiana

กุหลาบหิน เป็นไม้ในสกุลที่ส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่ม อวบน้ำและมีอายุอยู่ได้นานหลายปี มีถิ่นกำเนิดในมาดากัสกาแอฟริกาและเอเชีย เหมาะที่จะปลูกเป็นไม้กระถาง ต้นดั้งเดิมส่วนมากจะมีลักษณะต้นสูงเก้งก้าง ต่อมาได้มีการคัดเลือกพันธุ์ อันเนื่องมาจากการกระจายพันธุ์และการผสมพันธุ์ ทำให้ได้พัธุ์ใหม่ที่มีพุ่มต้นเตี้ยกะทัดรัด
ลักษณะทั่วไป
กุหลาบหินหรือกาลังโชเป็นไม้ประดับกระถาง เป็นพืชที่ปลูกง่าย ปลูกทั้งในและนอกอาคาร แต่ปลูกได้ดีเมือ่อยู่ ในกลางแจ้ง เพราะเป็นพืชชอบแดด กุหลาบหินเมีใบค่อนข้างกลมเป็นหยักมนซ้อนๆกันคลายดอกกุหลาบแต่ ไม่อ่อนช้อยจึงได้ชื่อว่ากุหลาบหิน กุหลาบหินเป็นไม้อวบน้ำอายุหลายปีมีพุ่มเตี้ยสูง 30 - 40 เซนติเมตร ใบเดี่ยว สีเขียวกลม ปลายมนขอบใบหยักเป็นมน ออกเวียนสลับซ้อนๆ กัน ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกชูสูงเหนือพุ่มใบ เป็น ดอกย่อยขนาดเล็กๆจำนวนมาก สีแดงอมส้มสด ปัจุปันมีพันธุ์ที่เป็นพุ่มเตี้ยกะทัดรัด ใบขนาดเล็ก และมีดอกสี ต่างๆ เช่น ชมพู ส้ม เหลือง ฯลฯ ออกดอกฤดูกาลเดียว คือ ช่วงเดือนพฤศจิกายน - มีนาคม เป็นพืชที่เลี้ยงง่าย แตกหน่อไว ถ้าขยันแยกหน่อ กุหลาบหินจะเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วในเวลาอันสัน มีบางคนนิยมปลูกกุหลาบหินเป็นไม้มงคล เพื่อถือเคล็ด ว่าปลูกแล้ว จะรำรวยเป็นเศรษฐี อย่าไรก็ตามกุหลาบหินเป็นไม้ประดับที่น่าสนใจที่รูปทรงดูสวยแปลกตาแตก ต่างจากไม้ชนิดอื่น ถึงแม้มีความสามารถในการดูดสารพิษน้อย

การดูแล
กุหลาบหินเป็นพืชที่ปลูกที่ปลูกง่ายทนทาน นิยมปลูกไว้กลางแจ้ง เพราะชอบแดดจัด แต่ถ้านำมาปลูกภายในอาคารก็สามารถปลูกได้ แต่ใบจะมีสีเขียวเข้มและ มักจะไม่ออกดอก จึงควรตั้งไว้ในที่มีแสงอย่างเพียงพอหรือแสงแดดส่องถึง ให้น้ำสัปดาห์ 1-2 ครั้ง ก็เพียงพอ ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ละลายน้ำรดในช่วงที่กำลังออกดอก

การปลูก
ดินที่ใช้ปลูกต้องโปร่งระบายน้ำได้ดี ทั้งนี้เพราะกุหลาบหินไม่ชอบดินแฉะกุหลาบหินไม่พิถีพิถันเรื่องดินปลูกมากนัก โดยเฉพาะประเทศไทยอาจเป็นเพราะว่ากุหลาบหินมีช่วงการเจริญเติบโตจนดอกบานนานกว่าไม้ดอกชนิดอื่นๆ กุหลาบหินปลูกได้ในดิน เกือบทุกชนิด แต่ปลูกได้ดีในดินร่วนปนทรายส่วนผสมของดินใช้ดินร่วน 2 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน ขยายพันธุ์โดยการปักชำยอดและปักชำใบ











ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำว่า “ตรงต่อเวลา” ของประเทศเหล่านี้ไม่เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันตรงไหน

ตารางธาตุสุดน่ารักนี้ จะทำให้คนเกลียดวิทยาศาสตร์เข้าใจธาตุต่างๆ มากขึ้น

Statice